วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บ้านเขาแก้ว จ.สระบุรี

บ้านเขาแก้ว สระบุรี เป็นทริปนอกรอบ ซึ่งเป็นที่แรกที่ได้ไปของ tripนี้
เมื่อได้เข้าสู่ภายในบริเวณบ้านจะเห็นว่าลักษณะของบ้านเขาแก้วเป็นเรือนไทยที่น่าอยู่มาก ๆ มีอาคารเรือนใหญ่ 6 หลัง  สร้างขึ้นด้วยภูมิปัญญาไทยแบบดั้งเดิม แต่ไม่เหมือนก่อนเพราะได้ปรับเปลี่ยนการวางตัวเรือนให้สอดคล้องกับลักษณะการ ใช้สอยอาคาร มีการประยุกต์ใช้สังกะสีเข้ามาแทนกระเบื้องเดิม เพราะจะช่วยในเรื่องความคงทน และในเรื่องการผลิตแบบอุตสาหกรรม เพื่อให้ตัวเรือนนั้นมีความแข็งแรงและสะดวกรวดเร็วในการก่อสร้าง

บ้านเขาแก้ว จ.สระบุรี

และบ้านเขาแก้ว มีลักษณะของลานบ้านที่กว้างขวาง เป็นส่วนให้รู้จักกับการสัมผัสธรรมชาติ เปิดที่ว่างระหว่างตัวลานกับตัวเรือนอาศัย สามารถใช้สอยประโยชน์ได้หลายอย่าง โดยที่ลานดินมีการเลี้ยงสุนัข นก  การปลูกต้นไม้หลากหลาย มีพืชสวนครัวที่สามารถใช้บริโภคได้ เป็นการรักษาจารีตประเพณี วัฒนธรรมเดิมเอาไว้ สะท้อนวิถีชีวิต ภูมิปัญญาคนไทยสมัยก่อนที่สร้างบ้านอย่างมีความงามตามธรรมชาติที่รู้จักประยุกต์ให้เหมาะสมกับการใช้งานในปัจจุบันถ้า เราสารารถนำแนวคิดมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับปัจจุบันได้ โดยถ้าเรามีความเข้าใจความเป็นเอกลักษณ์ของภูมิปัญญาเดิมและคุณค่าของรูปแบบ การสร้างเรือนไทยในสมัยก่อน เช่นในเรื่องการใช้วัสดุธรรมชาติกับตัวอาคาร การเปิดที่ว่างระหว่างตัวลานกับอาคารเพื่อแบ่ง พื้นที่ใช้สอยและลานสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลากหลาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน รักษาความเป็นธรรมชาติและวิถีชีวิตของไทยให้คงคุณค่าต่อ ๆ ไป

เรือนไทย


หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยยวน
ตั้งอยู่ตรงข้ามบ้านเขาแก้ว ตั้งอยู่ริมน้ำ เป็นสถานที่ที่มาหลังจากชมบ้านสวนแล้วกันเรียบร้อยแล้ว ทุก ๆ คนได้มานั่งพักผ่อน ทานอาหารกลางวันกัน เป็นก๋วยเตี๋ยวที่มีเครื่องปรุงดูเหมือนซอสแบบไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน รสชาติอร่อยดี มีน้ำอัญชัญ น้ำอุทัยและใบเตยให้ดื่มกันเพื่อเพิ่มความสดชื่น โดยเฉพาะน้ำใบเตย และน้ำอัญชัญจะได้รับความนิยมมากและหมดอย่างรวดเร็ว บรรยากาศภายในพิพิธภัณฑ์ร่มรื่นมาก โดยสถานที่นี้ก็เป็นที่ฝึกสอนและให้ความรู้แก่เด็กในเรื่องวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่นการ้อง การรำ มีการสอนหนังสือแก่เด็ก ๆ อีกด้วย ต่อจากนั้น ก็มีการแสดงฟ้อนรำ และร้องเพลงที่เป็นมืออาชีพของพวกน้องๆ ตัวเล็กๆ ดูน่ารักน่าเอ็นดูมาก จากน้นก็ชื่นชมกับการจัดวางตัวอาคารที่ไล่ลงมาตามความชันระหว่างพื้นดินกับ ริมน้ำ ดูเป็นขั้นบันไดที่ประยุกต์และจัดวางอาคารอย่างลงตัว สามารถประยุกต์พื้นที่ได้อย่างน่าสนใจ เช่น บริเวณพื้นที่ไล่ลงมาจะมีลานเวทีที่สามารถปรับเป็นพื้นที่นั่งชมแทนได้  และการใช้วัสดุธรรมชาติสร้างอาคารได้อย่างสวยงาม

หอวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยยวน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น