วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วันที่ 2 ของทริป

ตื่นเช้ามา ก็เดินทางสู่วัดไหล่หินหลวง
เมื่อถึงหน้าวัดก็พบลานทรายบริเวณกว้าง  ลานทราย เป็นตัวรักษาสภาพแวดล้อม ไม่ให้ วัชพืชขึ้น สะดวกต่อการเก็บกวาดใบไม้และเพื่อระบายน้ำฝนในดิน 

ลานทรายกว้างบริเวณหน้าวัด


ลานทรายนี้เป็นตัวเปิด space โล่งสู่เสา วิหารของวัด ดูมีความลื่นไหลของ space เป็นระยะ ๆ ต่อเนื่องจากลานทราย ภายในวิหารจะโปร่ง องค์ประกอบต่าง ๆ ภายในวิหารจะถูกเชื่อมโยงระนาบกับภายนอกอย่างสวยงามน่าสนใจ ซุ้มประตูทางเข้าที่ต่อเนื่องกับวิหารมีลวดลายประณีต อ่อนช้อย สวยงาม ลานภายในเขตซุ้มประตูเป็นลานกรวดอาจเป็นเพื่อความรู้สึกเป็นธรรมชาติและเพื่อความสำรวมของการเดินไม่ให้เกิดเสียงดังบริเวณวัด

วัดไหล่หินหลวง


จากนั้นแวะทานอาหารกลางวันแถว ๆ วัดพระธาตุลำปางหลวง

วัดพระธาตุลำปางหลวง


 วัดนี้เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง ที่องค์พระเจดีย์ภายในบรรจุพระบรมเกศาธาตุ ลักษณะเด่นชัดที่มองเห็นอันดับแรกเลย คือการทำบันไดที่มีแนวพญานาคทอดนำไปสู่ซุ้มประตูกรอบซุ้มประตูนำสายตาเข้าไปสู่ตัววิหาร และความกระชั้นผลักให้วิหารดูใหญ่ และนำสายตาสู่มณฑปด้านใน 

ซุ้มประตู วัดพระธาตุลำปางหลวง


เมื่อเดินถ่ายรูปภายในวัดเรียบร้อยแล้ว ก็เดินทางต่อไปยังวัดปงยางคก

วิหารวัดปงยางคก


วิหารแห่งนี้ เป็นวิหารโถงไม้ขนาดเล็ก สะท้อนภูมิปัญญารูปแบบล้านนา ของช่างในอดีตเดิมต่างจากวัดพระธาตุลำปางหลวงที่ตอนนี้ถูกเปลี่ยนแปลงด้วยสิ่งก่อสร้างใหม่ หลังคาวิหารมีการลดชั้นด้านหน้า 3 ชั้น ด้านหลัง 2 ชั้น โครงสร้างของวิหาร ใช้ระบบเสาและคาน ไม่ทำฝ้าเพดาน ในส่วนของผนัง วิหาร เป็นผนังเพียงครึ่งเดียว ที่เรียกว่า ฝาย้อย ในแต่ละช่วงเสาการเปิดช่องของอาคารทำให้เกิดความเชื่อมโยงต่อเนื่องกันของพื้นที่ภายในและภายนอก ทำให้เกิดความเชื่อมโยงถึงกันหมด

วัดปงยางคก

และมีการใช้เสาไม้กลมตัวฐานเป็นเสาปูน และเสาเหลี่ยมร่วมที่อยู่ด้านนอกที่เป็นเสาระเบียง ดูแล้วน่าทึ่งกับความช่างคิดของช่างไทย ในสมัยก่อนจริง ๆ นอกจากนี้ บริเวณลานก่อนเข้าสู่ผนังวัดนั้นมีการเล่น  space ตามตั้งและนอนนำเข้าสู่บริเวณวัดอีกด้วย

บริเวณลานก่อนเข้าสู่ผนังวัด


 จากนั้นก็เดินทางไปหมู่บ้านเกาะคาน เพื่อดูลักษณะของบ้านพื้นถิ่นของจังหวัดลำปางที่มีการใช้ธรรมชาติกับการสร้างอาคารและลักษณะเฉพาะของบ้านในท้องถิ่นลำปางนี้ ได้เข้าไปดูถึงในตัวเรือนจากการนำทีมโดย อ.จิ๋ว นี้ทำให้เราเข้าถึงพื้นที่จริง ๆ ทำให้เราได้เห็นการจัด space ทั้งภายนอกและภายในตัวเรือน

บ้านพื้นถิ่นของจังหวัดลำปาง หมู่บ้านเกาะคาน

ภายในบ้าน


จากนั้นก็ไปแวะรับประทานอาหารเย็นและกลับสู่โรงแรมที่พัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น